Medical Blog

สเต็มเซลล์มีกี่ประเภท มาร่วมกันหาคำตอบได้ที่นี่!

สเต็มเซลล์มีกี่ประเภท

สเต็มเซลล์มีกี่ประเภท รู้ให้รอบ! เพื่อการจัดเก็บ Stemcell อย่างปลอดภัย

สเต็มเซลล์มีกี่ประเภท..? ประเภทของสเต็มเซลล์แบ่งตามคุณสมบัติอะไร..? ใครที่กำลังมีข้อสงสัยเหล่านี้ ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับสเต็มเซลล์กันให้มากยิ่งขึ้น ว่าสเต็มเซลล์แบ่งเป็นกี่ประเภท และในแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้ทุกคนสามารถตัดสินใจจัดเก็บสเต็มเซลล์กันได้อย่างง่ายดายกันมากยิ่งขึ้น

แต่ก่อนที่เราจะไปรู้กันว่า Stem Cell มีกี่ชนิด เราขออธิบายถึงความน่าสนใจของสเต็มเซลล์เพื่อเป็นการเตือนความจำถึงความสำคัญของการจัดเก็บสเต็มเซลล์ให้กับทุกคน โดยสเต็มเซลล์ (Stem Cell) นั้น เป็นเซลล์ภายในร่างกายของเรา ที่มีความสามารถที่โดดเด่นคือ

 

  • สามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่จำกัด และแบ่งตัวได้อยู่เสมอ
  • สามารถเข้าไปทดแทนเซลล์ที่ถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพไปจากอาการของโรคร้าย หรือจากผลข้างเคียงของกระบวนการรักษาโรคต่าง ๆ ได้
  • สามารถพัฒนาเป็นเซลล์อื่น ๆ อย่างเซลล์เม็ดเลือด เซลล์ผิวหนัง เซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เซลล์กระดูก และเซลล์ไขมันได้ 

และด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้จึงทำให้ทางการแพทย์ได้มีการนำสเต็มเซลล์มาศึกษาและวิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ ให้การใช้สเต็มเซลล์เป็นการแพทย์ทางเลือกที่จะช่วยฟื้นฟูอาการ รับมือกับความเสื่อม และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคร้ายต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น เพราะในบางครั้งการรักษาแบบเดิม ๆ อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป

 

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ในปัจจุบันสเต็มเซลล์จะถูกนำมาใช้ทางการแพทย์กันมากยิ่งขึ้น แต่โอกาสที่จะค้นพบผู้บริจาคสเต็มเซลล์ที่มีประเภทของสเต็มเซลล์ที่สอดคล้องกับความสามารถในการฟื้นฟูโรค และมีเนื้อเยื่อเข้ากันกับผู้รับสเต็มเซลล์นั้นมีจำนวนน้อยมาก ๆ ซึ่งจะมีเพียง 1 ใน 50,000 – 100,000 คนเท่านั้น ทำให้หากไม่มีการจัดเก็บสเต็มเซลล์ไว้แล้วหากในอนาคตมีความต้องการที่จะใช้สเต็มเซลล์ในการฟื้นฟูโรคและความเสื่อมต่าง ๆ ก็อาจจะต้องใช้เวลาในการค้นหาสเต็มเซลล์ที่มีเนื้อเยื่อเข้ากันกับผู้รับ และอาจทำให้การรักษาไม่ทันท่วงที เราจึงขอแนะนำให้ทุกคนวางแผนจัดเก็บสเต็มเซลล์กับลูกน้อยตั้งแต่แรกคลอด เพื่อให้หากในอนาคตหากตัวคุณ ลูกน้อย หรือคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคร้ายหรือมีความเสื่อมต่าง ๆ เกิดขึ้น จะได้มีสเต็มเซลล์เป็นหลักประกันทางสุขภาพ ที่จะสามารถนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัยนั่นเอง

 

ไขข้อข้องใจ..สเต็มเซลล์มีกี่ประเภท?

ประเภทของสเต็มเซลล์นั้นมีอยู่มากมาย ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้ตามปัจจัยต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกับสเต็มเซลล์สเต็มเซลล์กันมากยิ่งขึ้น เราจะพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบที่ว่าสเต็มเซลล์แบ่งเป็นกี่ประเภทและแต่ละประเภทมีจุดเด่นอะไรบ้างที่น่าสนใจ

 

ประเภทของสเต็มเซลล์นั้นจะแบ่งออกตาม 3 ปัจจัยคือความสามารถในการเจริญพัฒนา, ความแตกต่างในการจัดเก็บ และคุณสมบัติในการแบ่งตัว โดยจะมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป ดังนี้

 

แบ่งตามระยะของความสามารถในการเจริญพัฒนา

หากแบ่งสเต็มเซลล์ออกตามระยะของความสามารถในการเจริญพัฒนา จะสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

 

Unipotent Stem Cell

หากถามว่าสเต็มเซลล์มีกี่ประเภท เราขอแนะนำให้รู้จักกับประเภทแรกของสเต็มเซลล์ ซึ่งก็คือ Unipotent Stem Cell เป็นสเต็มเซลล์ที่จะสามารถเจริญพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อแค่เพียงชนิดเดียว หรือจำเพาะแค่เนื้อเยื่อชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่สามารถเจริญไปเป็นเนื้อเยื่ออื่น ๆ ได้

 

Multipotent Stem Cell

Multipotent Stem Cell เป็นสเต็มเซลล์ที่ได้มาจาก Adult Stem Cell ซึ่งจะสามารถพัฒนาไปเป็นส่วนของเนื้อเยื่อที่จำกัด ทำให้มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ได้แบบเฉพาะเจาะจง แต่จะไม่สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ต้นกำเนิดชนิดอื่นได้ โดยจะพบได้ในเซลล์ต่าง ๆ เช่น เซลล์สมอง เซลล์ตับ เซลล์ผิวหนัง และเซลล์เลือด

 

Pluripotent Stem Cell

Pluripotent Stem Cell คือ Embryonic Stem Cell เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนมนุษย์  ที่แยกได้จาก Inner Cell Mass ในระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) ทำให้มีความสามารถในการพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ ได้หลายชนิด และจะสามารถพัฒนาจนกลายเป็นมนุษย์ได้สมบูรณ์ แต่จะไม่สามารถสร้างรกสายสะดือได้นั่นเอง

 

Totipotent Stem Cell

ปิดท้ายข้อสงสัยที่ว่า Stem Cell มีกี่ชนิดด้วยสเต็มเซลล์ประเภทที่ 4 อย่าง Totipotent Stem Cell หรือก็คือสเต็มเซลล์ที่ได้มาจาก Fertilized egg (Zygote) ซึ่งจะสามารถพัฒนาเป็นเซลล์ได้หลากหลายชนิดมากที่สุด โดยเฉพาะเซลล์ต่าง ๆ ในบริเวณรก สายสะดือ และตัวของเด็กที่มีอวัยวะครบสมบูรณ์  ซึ่งจะพบได้มากในระยะไซโกต (Zygote) 

 

แบ่งตามความแตกต่างในการจัดเก็บ

เมื่อรู้กันแล้วว่าถ้าแบ่งสเต็มเซลล์ออกตามความสามารถในการเจริญพัฒนา เราจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แล้วหากแบ่งตามความแตกต่างในการจัดเก็บแล้วสเต็มเซลล์มีกี่ประเภท ไปดูกัน!

 

ถ้าเราแบ่งสเต็มเซลล์ออกตามความแตกต่างในการจัดเก็บจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหรือรูปแบบในการจัดเก็บ โดยจะแตกต่างกันไปตามเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่ได้ทำการจัดเก็บ ดังนี้

 

Embryonic Stem Cell

Embryonic Stem Cell หรือที่หลาย ๆ คนมักจะคุ้นเคยในชื่อสเต็มเซลล์จากตัวอ่อน เป็นสเต็มเซลล์ที่ได้มาจากตัวอ่อนของมนุษย์ ทำให้จะมีความสามารถในการพัฒนาไปเป็นเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้หลากหลาย (ยกเว้นเซลล์จากรก) ซึ่งเซลล์ในร่างกายที่ Embryonic Stem Cell สามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปได้นั้น เช่น

    • เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ 
    • เซลล์ไขกระดูก 
    • เซลล์เม็ดเลือด ฯลฯ

แต่อย่างไรก็ตาม Embryonic Stem Cell ถือเป็นสเต็มเซลล์ที่ไม่สามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์ได้ เนื่องจากเป็นการดำเนินการที่ผิดจริยธรรม และมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งชนิด Teratoma จากความสามารถในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของสเต็มเซลล์ที่สูงเกินกว่าร่างกายจะสามารถควบคุมได้นั่นเอง

 

Adult Stem Cell

หากยังสงสัยว่า นอกจาก Embryonic Stem Cell แล้ว สเต็มเซลล์แบ่งเป็นกี่ประเภท อีกหนึ่งสเต็มเซลล์คืออะไร เราต้องขออธิบายว่าอีกหนึ่งประเภทของสเต็มเซลล์ที่แบ่งตามความแตกต่างในการจัดเก็บ นั่นก็คือ Adult Stem Cell หรือสเต็มเซลล์จากสิ่งมีชีวิตหรือเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย ที่จะทำการจัดเก็บได้จากสิ่งมีชีวิตหรือเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัยเท่านั้น

 

โดย Adult Stem Cell  นี้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ต่าง ๆ ได้หลากหลายเท่า Embryonic Stem Cell แต่จะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเป็นเซลล์จำเพาะในเนื้อเยื่อนั้น ๆ ทำให้หากเราจัดเก็บจากเนื้อเยื่อใด สเต็มเซลล์ที่ได้มาก็จะไม่สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ในส่วนอื่นได้ เช่น 

 

    • สเต็มเซลล์ที่จัดเก็บจากตับอ่อน (พัฒนาไปเป็นเซลล์ตับอ่อนได้ แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์อื่น ๆ ได้)
    • สเต็มเซลล์ที่จัดเก็บจากเลือด (พัฒนาไปเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดได้ แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์อื่น ๆ ได้)

ซึ่งแท้จริงแล้วสเต็มเซลล์ทุกประเภทจะสามารถจัดเก็บได้ในระยะหลังจากที่ตัวอ่อนโตแล้ว (Fetus) ไม่จำเป็นจะต้องจัดเก็บตอนโตหรือเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว และตัวอย่างของสเต็มเซลล์ที่สามารถจัดเก็บได้ในระยะหลังจากที่ตัวอ่อนโตแล้ว (Fetus) นั้นก็เช่น สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อหุ้มรก สเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ รวมไปจนถึง Mesenchymal Stem Cells (MSCs) ทุกประเภทนั่นเอง

 

แบ่งตามคุณสมบัติในการแบ่งตัว

นอกจากการแบ่งสเต็มเซลล์ตามระยะของความสามารถในการเจริญพัฒนา และความแตกต่างในการจัดเก็บแล้ว ยังมีอีกหนึ่งประเภทของสเต็มเซลล์ที่ทุกคนต้องทำความรู้จัก นั่นก็คือ สเต็มเซลล์ที่แบ่งตามคุณสมบัติในการแบ่งตัว ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Hematopoietic Stem Cells (HSCs) และ Mesenchymal  Stem Cells (MSCs) ซึ่งจะมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน ดังนี้

 

Hematopoietic Stem Cells (HSCs)

Hematopoietic Stem Cells (HSCs) ถือเป็นสเต็มเซลล์ที่ได้รับการศึกษาและวิจัยมาเพื่อใช้ในการฟื้นฟูโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของเซลล์ในกลุ่มเลือดต่าง ๆ เนื่องจาก Hematopoietic Stem Cells (HSCs) นั้น เป็นสเต็มเซลล์ของระบบเลือด ที่จะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวคือการพัฒนาตัวเองไปเป็นเซลล์ต่าง ๆ ในระบบเลือด และกลุ่มเม็ดเลือดต่าง ๆ เช่น

 

    • เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cells)
    • เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells)
    • เกล็ดเลือด (Platelets)

ซึ่งในการศึกษาเพื่อนำ Hematopoietic Stem Cells (HSCs) ไปใช้ทางการแพทย์นั้น ทำให้พบว่าการจะนำ Hematopoietic Stem Cells (HSCs) ไปใช้จะมีข้อจำกัดที่สำคัญที่ทุกคนต้องรู้ไม่แพ้ในเรื่องของสเต็มเซลล์มีกี่ประเภท นั่นก็คือ หากนำไปใช้เนื้อเยื่อของสเต็มเซลล์จะต้องมีความเข้ากันได้ระหว่างผู้ให้หรือเจ้าของสเต็มเซลล์ กับผู้รับหรือผู้ที่ใช้สเต็มเซลล์ในการฟื้นฟูโรคหรืออาการต่าง ๆ และหากทำการจัดเก็บสเต็มเซลล์ชนิดนี้กับลูกน้อยตั้งแต่แรกคลอด Hematopoietic Stem Cells (HSCs)  ที่จัดเก็บมาจะมีโอกาสถึง 1 ใน 4 ที่เนื้อเยื่อจะมีความเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์กับพี่ หรือน้องของเจ้าของสเต็มเซลล์อีกด้วย

 

Mesenchymal Stem Cells (MSCs)

หากสงสัยว่าสเต็มเซลล์แบ่งเป็นกี่ประเภท เราขอพาทุกท่านมารู้จักกับสเต็มเซลล์ประเภทสุดท้าย หากแบ่งตามคุณสมบัติในการแบ่งตัว นั่นก็คือ Mesenchymal Stem Cells (MSCs) หรือสเต็มเซลล์ชนิดมีเซนไคม์ ซึ่งเป็นสเต็มเซลล์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้มากมาย อาทิ เนื้อเยื่อกระดูก (Bone Tissue), เนื้อเยื่อกระดูกอ่อน (Cartilage Tissue), เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (Muscle Tissue) และเนื้อเยื่อไขมัน (Fat Tissue)

โดย Mesenchymal Stem Cells (MSCs) จะสามารถจัดเก็บได้จากหลากหลายแหล่งต้นกำเนิดด้วยกัน ซึ่งแหล่งต้นกำเนิดที่ได้รับความนิยมในการจัดเก็บสเต็มเซลล์ประเภทนี้นั้น ได้แก่ MSC Cord Tissue Stem Cells, MSC Amniotic Stem Cells และ MSC Adipose Stem Cells และที่สำคัญคือหากต้องการนำสเต็มเซลล์ชนิดนี้ไปใช้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เราขอแนะนำให้ใช้ Mesenchymal Stem Cells (MSCs) ที่จัดเก็บมาจากตนเองหรือลูกน้อยนั่นเอง

 

อยากจัดเก็บสเต็มเซลล์ต้องทำอย่างไร ?

เมื่อรู้กันแล้วว่า Stem Cell มีกี่ชนิด ก่อนที่จะจบบทความนี้ เรามีคำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงผู้ที่กำลังสนใจเข้ารับการจัดเก็บสเต็มเซลล์เพื่อเป็นหลักประกันทางสุขภาพให้กับตัวเอง ลูกน้อย และทุกคนในครอบครัว ซึ่งหากต้องการจัดเก็บสเต็มเซลล์อย่างปลอดภัย และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกท่านสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่าง ๆ ดังนี้

 

ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของสเต็มเซลล์

เริ่มต้นที่การศึกษาหาความร้ หรือทำความเข้าใจในบทบาทของสเต็มเซลล์กันให้มากยิ่งขึ้น เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจเลือกจัดเก็บสเต็มเซลล์ และเพื่อให้สามารถวางแผนจัดเก็บสเต็มเซลล์ได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม

 

แนะนำเรื่องที่ควรศึกษา ก่อนวางแผนการจัดเก็บสเต็มเซลล์

นอกจากในเรื่องของข้อสงสัยที่ว่าสเต็มเซลล์มีกี่ประเภท หลาย ๆ ท่านอาจจะยังมีคำถาม และข้อสงสัยอื่น ๆ อีกมากมายเกี่ยวกับการจัดเก็บสเต็มเซลล์ เราจึงขอแนะนำให้ทุกท่านศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของสเต็มเซลล์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการจัดเก็บสเต็มเซลล์ และเพื่อให้ทุกท่านเข้าใจในความสำคัญของการจัดเก็บสเต็มเซลล์กันให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งตัวอย่างของเรื่องที่ควรศึกษา ก่อนวางแผนการจัดเก็บสเต็มเซลล์นั้น ได้แก่

 

  • ความสำคัญของการจัดเก็บสเต็มเซลล์ 
  • การนำสเต็มเซลล์ไปใช้ประโยชน์ในอนาคต 
  • แหล่งต้นกำเนิดและความสามารถในการฟื้นฟูโรคของสเต็มเซลล์ 
  • ความปลอดภัยและข้อควรระวังในการจัดเก็บสเต็มเซลล์ 
  • มาตรฐานการจัดเก็บสเต็มเซลล์ที่สำคัญ เป็นต้น

ซึ่งแน่นอนว่าทุกท่านสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมกับทาง Cryoviva เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมทั้งในเรื่องของ Stem Cell มีกี่ชนิด และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนทำการวางแผนการจัดเก็บสเต็มเซลล์ได้ ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำ ทั้งยังมีบทความความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการจัดเก็บสเต็มเซลล์ และเรื่องราวน่ารู้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มารวมไว้ให้ทุกท่านได้ติดตามเพื่ออัปเดตความรู้กันแบบฟรี ๆ ในเว็บไซต์ของเราอีกด้วย

 

มองหาธนาคารจัดเก็บสเต็มเซลล์ที่มีความน่าเชื่อถือ

เมื่อศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ของสเต็มเซลล์กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็ถึงขั้นตอนของการเลือกธนาคารสเต็มเซลล์ที่มีบริการจัดเก็บสเต็มเซลล์อย่างปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือในการดำเนินการ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการจัดเก็บสเต็มเซลล์และการนำสเต็มเซลล์ไปใช้ในอนาคต โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกเก็บสเต็มเซลล์นั้น ไม่ใช่แค่เรื่องที่ว่าสเต็มเซลล์แบ่งเป็นกี่ประเภท แต่เป็นมาตรฐานที่ทางธนาคารสเต็มเซลล์ โดยธนาคารสเต็มเซลล์ที่ดีและน่าเชื่อถือจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานต่าง ๆ อย่าง มาตรฐาน มาตรฐาน AABB (Association for the Advancement of Blood & Biotherapies หรือชื่อเดิม American Association of Blood Banks) และมาตรฐาน ESQR (European Society for Quality Research) นั่นเอง

นอกจากนี้เรายังสามารถพิจารณาถึงรางวัลที่ทางธนาคารสเต็มเซลล์เคยได้รับ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจได้อีกด้วย ซึ่งรางวัลที่เกี่ยวข้องกับบริการจัดเก็บสเต็มเซลล์นั้น เช่น รางวัล Best Mesenchymal Stem Cells Therapy of the Year in South East Asia Region, รางวัล Asia’s Most Inspiring Executives จาก The Asia Corporate Excellence & Sustainability Awards (ACES) และ รางวัล Bioprocessing Excellence in Cell Banking เป็นต้น

 

วางแผนเลือกแหล่งต้นกำเนิดที่เหมาะสมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ

ปิดท้ายด้วยการเข้ารับคำปรึกษา รับคำแนะนำ และวางแผนจัดเก็บสเต็มเซลล์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของธนาคารสเต็มเซลล์ เพื่อเลือกแหล่งต้นกำเนิดที่เหมาะสมกับประโยชน์ที่ตอบโจทย์การนำไปใช้ในอนาคต เนื่องจากทุกท่านสามารถวางแผนจัดเก็บสเต็มเซลล์ได้จากแหล่งต้นกำเนิดที่แตกต่างกันถึง 4 แหล่งด้วยกัน ดังนี้

 

  • เลือดสายสะดือ Cord Blood (CB)
  • เนื้อเยื่อสายสะดือ Cord Tissue (CT)
  • เนื้อเยื่อหุ้มรก Amnion Tissue (AT)
  • เนื้อเยื่อไขมัน Adipose Tissue (ADSC)

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญของธนาคารสเต็มเซลล์ที่ดีจะต้องให้คำแนะนำอย่างครอบคลุม ทั้งในเรื่องประเภทของสเต็มเซลล์ แหล่งต้นกำเนิดของสเต็มเซลล์ที่แตกต่างกัน ความสามารถของสเต็มเซลล์จากแหล่งต้นกำเนิดเหล่านั้น รวมถึงผู้ที่ได้รับประโยชน์จากสเต็มเซลล์ประเภทต่าง ๆ นั่นเอง

และเมื่อทำการวางแผนร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกท่านก็สามารถเข้ารับจัดเก็บสเต็มเซลล์ตามวันและเวลาที่ตกลงไว้กับทางธนาคารสเต็มเซลล์ และติดต่อเข้ามาหากต้องการใช้สเต็มเซลล์ที่จัดเก็บไว้ในอนาคตกันได้เลย


เป็นอย่างไรกันบ้างกับประเภทของสเต็มเซลล์ และคำแนะนำในการเลือกธนาคารสเต็มเซลล์ที่เราได้แนะนำทุกท่านไปในวันนี้ เราหวังว่าบทความดี ๆ ของเราจะช่วยคลายข้อสงสัยที่ว่าสเต็มเซลล์มีกี่ประเภท และทำให้ทุกท่านสามารถตัดสินเลือกจัดเก็บสเต็มเซลล์กันได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และหากใครยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมในเรื่องที่ว่า Stem Cell มีกี่ชนิด รวมถึงอยากปรึกษาเกี่ยวกับการจัดเก็บสเต็มเซลล์ก็สามารถติดต่อเข้ามาหาทาง Cryoviva ของเราได้เลย!


See other

“ไครโอวิวา ธนาคารจัดเก็บสเต็มเซลล์
ผู้นำนวัตกรรมมาตรฐานระดับสากล
อยู่เคียงข้างคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว”

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญและรับสิทธิพิเศษจากไครโอวิวา



    มีความสนใจบริการด้านไหนของไครโอวิวาเป็นพิเศษหรือไม่?

    This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.