ภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์กับสิ่งที่คุณแม่ต้องรู้!
รู้ทันภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อย
ภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์หรือภาวะครรภ์เสี่ยงสูงคือสิ่งที่คุณแม่ต้องระวัง เพราะหากปล่อยไว้และไม่รับมือกับภาวะครรภ์เสี่ยงอย่างถูกวิธี อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต! วันนี้ Cryoviva จะมาพาคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนไปรู้จักกับภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์หรือภาวะครรภ์เสี่ยงให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้พร้อมรับมือกับอาการต่าง ๆ และเข้าพบแพทย์ได้อย่างทันท่วงทีหากตนเองอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูง
ภาวะครรภ์เสี่ยงคืออะไร..แบบไหนไม่ปลอดภัย เสี่ยงอันตรายต่อลูกน้อย
ครรภ์เสี่ยงสูง คือภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์หรือภาวะที่คุณแม่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากอาการผิดปกติ และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้ ด้วยเหตุนี้คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรเข้ารับการฝากครรภ์ แจ้งประวัติต่าง ๆ อย่างละเอียด รับการตรวจสุขภาพพื้นฐาน และเข้ามาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อคัดกรองภาวะของครรภ์เสี่ยงเบื้องต้น อีกทั้งยังต้องดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์
นอกจากนี้หากคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นกังวลว่าลูกน้อยจะได้รับผลกระทบจากภาวะครรภ์เสี่ยงและมีอาการเจ็บป่วยได้ง่ายหรือมีโรคร้ายต่าง ๆ ตามมาหลังคลอด คุณแม่สามารถมอบอนาคตทางสุขภาพที่ดีให้กับลูกน้อยได้ ด้วยการวางแผนจัดเก็บสเต็มเซลล์กับลูกน้อยตั้งแต่แรกคลอด เพื่อนำไปใช้ฟื้นฟูความเสื่อมของร่างกายและอาการของโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนั่นเอง
ปัจจัยที่ทำให้คุณแม่มีภาวะครรภ์เสี่ยง
ปัจจัยที่ทำให้คุณแม่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงคือ
- อายุของคุณแม่ตั้งครรภ์
- โรคประจำตัวของคุณแม่ และโรคที่เกิดขึ้นก่อนการตั้งครรภ์
- โรคหรืออาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์
- ประวัติของปัญหาที่เคยเกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และคลอดบุตร
- พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติด
นอกจากนี้การทำงานบ้านหรือการทำความสะอาดบ้านบางอย่าง แม้จะไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะครรภ์เสี่ยงหรือภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์โดยตรง แต่ก็ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้ แล้วคนท้องต้องระวังอะไรบ้าง การทำงานบ้านแบบไหนที่ควรระมัดระวัง ไปดูกัน
- การใช้น้ำยาล้างห้องน้ำหรือสารทำความสะอาดต่าง ๆ : เพราะสารเคมีในน้ำยาทำความสะอาดอาจก่อให้เกิดอาการแพ้และคลื่นไส้ได้ง่าย
- การยกของหนักหรือใช้แรงเยอะ : เพราะอาจทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลังและปวดตามข้อ และมีความเสี่ยงสูงในการแท้งบุตร
- การปีนขึ้นที่สูงเพื่อหยิบหรือปัดกวาดสิ่งของ : เพราะเสี่ยงต่อการล้มหรือตกจากที่สูง หากมีอาการหน้ามืดหรือเป็นลม
- การทำความสะอาดพื้นที่ลื่น ๆ : เพราะคุณแม่จะเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้ง่าย
- การทำความสะอาดเศษฝุ่นและไรฝุ่นภายในบ้าน : เพราะอาจกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เสี่ยงโรคหอบหืด เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และเสี่ยงโรคภูมิแพ้
อาการที่เกิดขึ้นจากภาวะครรภ์เสี่ยง
– แพ้ท้องรุนแรง : เสี่ยงมีภาวะขาดน้ำ ลูกน้อยขาดสารอาหาร
– เลือดออกจากช่องคลอด : เสี่ยงแท้งบุตร ท้องนอกมดลูก
– ปวดท้องน้อย จุกแน่นลิ้นปี่มาก : เสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
– มีไข้สูง ปวดศีรษะมาก : เสี่ยงมีภาวะติดเชื้อ
– ลูกดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้น : เสี่ยงลูกน้อยเสียชีวิตในครรภ์
– ตัวบวม น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว : เสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
ซึ่งหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อรักษาอาการและทำการปรึกษาเกี่ยวกับการเก็บสเต็มเซลล์เพื่ออนาคตทางสุขภาพของลูกน้อยกับธนาคารสเต็มเซลล์ที่ดำเนินการอย่างมีมาตรฐานและมีความปลอดภัย
ผลกระทบและอันตรายที่เกิดจากภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์
คุณแม่ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์หรือมีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงคือกลุ่มของผู้ที่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้จากปัจจัยทั้งก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้ทั้งในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด หรือหลังคลอด ซึ่งอันตรายที่เกิดขึ้นจากภาวะเสี่ยงมีดังนี้
- เสี่ยงต่อการแท้งบุตร
- เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด หรือมีภาวะคลอดยาก
- ทารกมีพัฒนาการที่ผิดปกติ
นอกจากนี้คุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงจะมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์โดยทั่วไป ทำให้ต้องได้รับการดูแลและเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสมนั่นเอง
เช็กลิสต์ คุณแม่ตั้งครรภ์อยู่ในกลุ่มมี ‘ความเสี่ยงสูง’ หรือไม่
คนท้องต้องระวังอะไรบ้าง?…ปัจจัยที่เข้าข่ายว่าคุณแม่ตั้งครรภ์มี ‘ความเสี่ยงสูง’ และควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ได้แก่
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะครรภ์เป็นพิษ
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 35 ปี หรือน้อยกว่า 18 ปี
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะแฝดไข่ใบเดียวกัน
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ เป็นต้น
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีหมู่เลือด Rh negative ที่หายาก
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบ โรคทางเพศสัมพันธ์
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีประวัติรับยาหรือสารเคมีที่อาจส่งผลต่อทารก
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะปากมดลูกสั้น
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะแท้งคุกคาม แท้งบ่อย รกเกาะต่ำ
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีประวัติเคยคลอดบุตรก่อนกำหนด
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีประวัติเคยคลอดทารกที่เจริญเติบโตช้าในครรภ์
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีประวัติเคยคลอดทารกน้ำหนักน้อยหรือตัวเล็ก
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีประวัติเคยคลอดบุตรที่มีความพิการแต่กำเนิด
◻ คุณแม่ตั้งครรภ์มีโรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย
และหากคุณแม่เข้าข่ายว่าเป็นผู้ที่มีครรภ์เสี่ยงสูงดังกล่าว จะต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เพื่อให้สามารถดูแลตนเองและลูกน้อยได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
คุณแม่ตั้งครรภ์ ดูแลตัวเองอย่างไรปลอดภัย ไร้ความเสี่ยง
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองอยู่เสมอ และลด ละ เลี่ยงในสิ่งที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองและลูกน้อยในครรภ์ เพราะการดูแลตัวเองเบื้องต้นคือสิ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ได้
แล้วคุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลตัวเองอย่างไร คนท้องต้องระวังอะไรบ้าง ไปดูกัน
- เน้นการทานโฟเลตหรือโฟลิคตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ไปจนถึงตอนคลอด โดยควรทานในปริมาณ 4-5 มิลลิกรัมต่อวัน
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานอยู่เสมอ
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้หนักจนเกินไป
- งดการสูบบุหรี่
- งดการดื่มแอลกอฮอล์
- งดการยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด
- เข้าพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
นอกจากนี้เราขอแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์วางแผนเพื่อสุขภาพในอนาคตของลูกน้อย ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
- มองหาโรงพยาบาลประจำสำหรับลูกน้อย
- เลือกประกันสุขภาพสำหรับเด็กที่ครอบคลุม
- วางแผนจัดเก็บสเต็มเซลล์กับลูกน้อยแรกคลอด
เพียงเท่านี้คุณแม่ตั้งครรภ์ก็สามารถรับมือกับภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ พร้อมรู้ทันภาวะครรภ์เสี่ยงและสามารถเข้าพบแพทย์ได้อย่างทันท่วงทีหากมีอาการเสี่ยงต่างเกิดขึ้นกันได้แล้ว!
————————————-
หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ หรือต้องการสอบถามถึงแนวทางการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันภาวะครรภ์เสี่ยงสูงเพิ่มเติมว่าคนท้องต้องระวังอะไรบ้าง อาการท้องแข็งคืออะไร รวมถึงมีความสนใจในการวางแผนจัดเก็บสเต็มเซลล์กับลูกน้อยแรกคลอดเพื่ออนาคตทางสุขภาพของลูกน้อยและทุกคนในครอบครัว สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้เลยที่
Cryoviva
“ธนาคารสเต็มเซลล์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล”
อ่านเพิ่มเติม : แจก !! 3 ตัวช่วยลดอาการแพ้ท้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง : แพ้ท้องแบบไหนต้องไปพบแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง : ขั้นตอนการฝากครรภ์ เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้
“ไครโอวิวา ธนาคารจัดเก็บสเต็มเซลล์
ผู้นำนวัตกรรมมาตรฐานระดับสากล
อยู่เคียงข้างคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว”
ติดต่อผู้เชี่ยวชาญและรับสิทธิพิเศษจากไครโอวิวา