Lifestyle Blog

รวมเทคนิคลดหุ่น และ เมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนัก

ควบคุมน้ำหนักคนท้อง

คุณแม่ตั้งครรภ์กับเทคนิคควบคุมน้ำหนักตอนท้องและหลังคลอด

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนมักเกิดความกังวลในเรื่องของน้ำหนักตัว การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และการลดน้ำหนักภายหลังจากการคลอดให้กลับมามีหุ่นสวยดังเดิม วันนี้ Cryoviva ผู้นำนวัตกรรมการเก็บสเต็มเซลล์จึงได้รวบรวมเมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนัก เคล็ดลับการควบคุมน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ และวิธีลดน้ำหนักหลังจากการคลอดมาให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้นำไปปรับใช้กับตนเอง

การควบคุมและดูแลน้ำหนักในขณะตั้งครรภ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่ต้องมีการเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกวิธี ด้วยเมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากอาหารควบคุมน้ำหนักคนท้องหากรับประทานอย่างถูกวิธี ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในขณะที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เองมีน้ำหนักตัวและรูปร่างที่เป็นไปตามเกณฑ์

เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์​อาจมีความเสี่ยงและผลกระทบต่อทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้ เพื่อให้สามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย เราขอพาคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนมาดูกันว่า น้ำหนักมาตรฐานของคุณแม่ตั้งครรภ์คือเท่าไหร่ แบบไหนถึงเรียกว่าน้ำหนักเกินเกณฑ์ แล้วจะสามารถควบคุมน้ำหนักตอนท้องได้อย่างไร อาหารควบคุมน้ำหนักคนท้องมีอะไรบ้าง รวมไปถึงคนท้องกินยังไงให้ลงลูก ทำยังไงให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน พร้อมเสริมเคล็ดลับการดูแลตัวเองและลดน้ำหนักภายหลังจากการคลอดอย่างเหมาะสม

น้ำหนักมาตรฐานของคุณแม่ตั้งครรภ์

น้ำหนักมาตรฐานของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะแต่งต่างกันไปตามน้ำหนักตัวหรือ BMI ก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์สามารถมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ทั้ง 9 เดือน ดังนี้

น้ำหนักตัวก่อนการตั้งครรภ์น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์
คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์น้อยน้ำหนักจะขึ้นได้ถึง 15-18 กก.
คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ปานกลางน้ำหนักจะขึ้นได้ถึง 12-15 กก.
คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์มากน้ำหนักไม่ควรเพิ่มขึ้นเกิน 10 กก.

การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์

ในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวที่แตกต่างกัน คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถสังเกตตัวเองได้ง่าย ๆ โดยการตรวจสอบน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นตามตารางด้านล่างนี้

ไตรมาสน้ำหนักตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 1 (ช่วง 3 เดือนแรก)น้ำหนักตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์อาจยังไม่เพิ่มขึ้น และในบางคนอาจมีน้ำหนักตัวที่ลดลงจากอาการแพ้ท้อง แต่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องคนท้องกินยังไงให้ลงลูกในช่วงนี้หากมีการอาเจียนออกมา เนื่องจากตัวอ่อนในครรภ์จะได้รับสารอาหารจากถุงไข่แดงนั่นเอง โดยในช่วงนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 กิโลกรัม
ไตรมาสที่ 2 (ช่วงเดือนที่ 4 – 6)ในช่วงนี้น้ำหนักตัวของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ประมาณ 4 – 5 กิโลกรัม
ไตรมาสที่ 3  (ช่วงเดือนที่ 7 – 9)เป็นช่วงที่น้ำหนักตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อหนึ่งสัปดาห์ หรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 5 – 8 กิโลกรัมในช่วงเดือนที่ 7 – 9 นี้ 

ภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์

ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้น คือ ภาวะที่คุณแม่มีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยไม่ได้มีการควบคุมน้ำหนักตอนท้องอย่างถูกวิธี ทำให้อาจเกิดอันตรายและภาวะแทรกซ้อนต่อทั้งตัวคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เองและลูกน้อยในครรภ์ได้ เนื่องจากคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากจะมีภาวะแทรกซ้อนที่สูงกว่าคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวปกติ 

อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการมีภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ 

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง 
  • ภาวะตกเลือดหลังคลอดได้ง่าย
  • โรคอ้วนหลังคลอด
  • ทารกคลอดยาก เสี่ยงตกเลือดขณะตลอด
  • ลูกน้อยเสี่ยงเสียชีวิตในครรภ์
  • เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

นอกจากนี้หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวมากเกินไป อาจทำให้มีอาการเหนื่อยง่ายและปวดหลังมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จึงควรมีการควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้วยการออกกำลังกาย เลือกรับประทานเมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนักอย่างถูกวิธี และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพราะเราเข้าใจว่าสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยคือสิ่งที่สำคัญที่สุด หากคุณแม่มีความกังวลในเรื่องของโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในอนาคต สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสเต็มเซลล์จาก Cryoviva เพื่อรับคำแนะนำได้อย่างเหมาะสม

เมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนัก

การควบคุมน้ำหนักสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์

การควบคุมน้ำหนักสำหรับคนท้องนั้นทำได้ง่าย ๆ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์โดยการทานเมนูอาหารสำหรับคนท้องที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ กินยังไงไม่ให้อ้วน

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรทานอาหารที่ให้พลังงานประมาณ “2,550 ถึง 2,650 กิโลแคลอรีต่อวัน” โดยจะต้องมีการควบคุมและหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้มีน้ำหนักตัวมากเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนหลังคลอด เนื่องจากหากคุณแม่เลือกทานอาหารอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำ ‘คนท้องกินยังไงให้ลงลูก’ เมื่อคลอดแล้วน้ำหนักตัวของคุณแม่จะกลับมาเท่าเดิมได้ง่ายยิ่งขึ้น

ซึ่งคำแนะนำในการควบคุมน้ำหนักขณะตั้งครรภ์นั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องมีการเลือกกินอาหารอย่างถูกวิธี ห้ามอดอาหารหรือทานอาหารน้อยเกินไป เนื่องจากการอดอาหารหรือได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพออาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยได้ 

โดยวันนี้เราได้รวบรวมการเลือกทานอาหารควบคุมน้ำหนักคนท้องอย่างถูกวิธี อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และเมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนักมาเพื่อให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมีสุขภาพที่ดี ไม่มีความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป

การเลือกทานอาหารที่เหมาะสมในขณะตั้งครรภ์

หากจะให้เราแนะนำว่าคนท้องกินยังไงให้ลงลูกเพื่อให้เมื่อคลอดแล้วน้ำหนักตัวกลับมาเท่าเดิมได้อย่างง่ายดายนั้น คุณแม่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและปฏิบัติตาม 5 หลักการเลือกเมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนักอย่างเหมาะสม ดังนี้

  1. เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ 
  2. เน้นการทานอาหารที่มีโปรตีนเป็นหลัก
  3. เลือกทานอาหารต้ม นึ่ง ลวก แทนการทอด ผัด 
  4. เลือกทานอาหารที่ย่อยง่ายและมีกากใย 
  5. เลือกการดื่มนมแทนการดื่มน้ำหวาน
อาหารควบคุมน้ำหนักคนท้อง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในขณะตั้งครรภ์

นอกจากที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องเลือกทานอาหารเหล่านี้เพื่อเป็นการควบคุมน้ำหนักแล้ว ยังต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงทำให้คุณแม่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด 
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานหรือมีน้ำตาลสูง
  • หลีกเลี่ยงอาหารหมัก ดอง
  • หลีกเลี่ยงการทานขนมจุกจิก
  • งดขนมหวาน ที่มีแป้งและน้ำตาลสูง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

เทคนิคการรับประทานอาหารในขณะตั้งครรภ์เพื่อคุมน้ำหนัก

และเพื่อให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด เราขอแนะนำเทคนิคในการรับประทานอาหารในช่วงของการตั้งครรภ์เพื่อช่วยให้การควบคุมน้ำหนักประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น โดยมีวิธีการ ดังนี้ 

  1. รับประทานอาหารให้บ่อย แต่ลดปริมาณลง
  2. หมั่นจิบน้ำระหว่างวันอยู่เสมอ
  3. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อช่วยระบบย่อยอาหาร
  4. ออกกำลังกายเบา ๆ ควบคู่ไปกับการทานอาหารที่มีประโยชน์

เพียงเท่านี้คุณแม่ตั้งครรภ์ก็สามารถควบคุมน้ำหนักในเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามคำแนะนำของเรา หรือสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ อาหารบำรุงครรภ์ในแต่ละไตรมาส เพื่อเตรียมพร้อมมอบสารอาหารที่ครบถ้วนให้กับลูกน้อยได้อย่างแน่นอน

อาหารคนท้อง

รวมเมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนัก

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มองหาเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีในขณะตั้งครรภ์ เราขอแนะนำให้เลือกทานอาหารควบคุมน้ำหนักคนท้องเหล่านี้

  • แกงจืดตำลึง
  • ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง 
  • อกไก่ผัดขิง
  • สุกี้ 
  • ปลานึ่งกับผักลวก
  • ต้มเลือดหมูใส่ผัก 
  • สเต็กหมู ไก่ ปลา เนื้อ
  • ยำหัวปลี
  • แกงเลียง
  • ฟักทองผัดไข่

นอกจากนี้เราขอเสริมด้วยผลไม้แนะนำ ที่มีน้ำตาลไม่สูง และอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งได้แก่

  • แอปเปิ้ล
  • แก้วมังกร
  • ฝรั่ง
  • มะละกอสุก
  • เบอรี่ต่าง ๆ 
  • กีวี่
  • อาโวคาโด
ควบคุมน้ำหนักตอนท้อง

เทคนิคการออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักขณะตั้งครรภ์

นอกจากการเลือกเมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนักอย่างเหมาะสมแล้ว คนท้องยังสามารถออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักได้ แต่ควรเลือกการออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงและไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ โดยการเลือกกีฬาหรือรูปแบบการออกกำลังกายเบา ๆ ที่ไม่มีการสะเทือนมาถึงท้อง และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

การออกกำลังกายเป็นเทคนิคการควบคุมน้ำหนักตอนท้องที่ต้องทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถออกกำลังกายได้ตามความเหมาะสมของอายุครรภ์ และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป โดยมีคำแนะนำในการออกกำลังกาย ดังนี้

แนะนำการออกกำลังกายในขณะตั้งครรภ์

การออกกำลังกายในขณะตั้งครรภ์ ควรเน้นการออกกำลังกายที่ช่วยให้กล้ามเนื้อยืดเหยียดได้มากขึ้น เนื่องจากจะทำให้คุณแม่สบายตัว ช่วยลดอาการปวดเมื่อย และอาการกล้ามเนื้อตึง

โดยกีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสมนั้นจะต้องเป็นกีฬาที่ไม่มีแรงกระแทก ไม่มีแรงปะทะ และไม่ใช่กีฬาผาดโผนที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ 

ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวันหรือวันเว้นวัน ครั้งละ 30 นาที ควบคู่ไปกับการเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมตามเมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนัก โดยเราได้มีวิธีในการออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และไม่กระทบต่อลูกน้อยมาแบ่งปันด้วยกัน 3 วิธี ได้แก่

การเดิน 

เป็นวิธีการออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักตอนท้องที่สะดวกที่สุด โดยนอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจและปอด ช่วยเพิ่มออกซิเจนในเลือด และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ช่วยพยุงเดิน ยืน นั่ง ทรงตัว รวมถึงกล้ามเนื้อพยุงครรภ์ให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้นั่นเอง

คำแนะนำในการเดินออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 
  • เลือกสวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี มีขนาดหลวม  ไม่รัดรูป
  • เลือกสวมรองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้าผ้าใบที่มีพื้นต่ำ มีความนุ่มและใส่สบาย เดินได้คล่องตัว
  • เลือกสถานที่ในการเดินออกกำลังกายที่โล่ง อากาศถ่ายเท สดชื่น เช่น สวนสาธารณะ สวนหลังบ้าน สนามกีฬา 
  • เริ่มต้นด้วยการเดินช้า ๆ แล้วจึงปรับให้เร็วขึ้นตามลำดับ แต่ไม่ควรเร็วมากและก้าวเดินยาว ๆ โดยทิ้งน้ำหนักตัวไปที่ฝ่าเท้า
โยคะ

เป็นการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการเลือกทานอาหารควบคุมน้ำหนักคนท้องที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ยืด ทำให้เกิดความผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดหลัง ช่วยฝึกการควบคุมลมหายใจ ทำให้จิตใจสงบ มีสติ และสมาธิมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงที่คุณแม่จะมีภาวะคลอดยากได้อีกด้วย

3 ท่าการเล่นโยคะที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 

1. ท่ากระดกข้อเท้า : นอนหงาย ขาเหยียดตรง วางแขนข้างลำตัว กระดกข้อเท้าสลับซ้ายและขวา ขึ้น-ลง โดยค้างไว้และสลับพักข้างละ 3 วินาที ทำจนครบ 10 ครั้ง 

2. ท่านอนตะแคงยกขา : นอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่ง  โดยใช้มือยันศีรษะไว้  ยกขาขึ้น ค้างไว้และสลับกับพัก 3 วินาที ทำจนครบ 10 ครั้งแล้วจึงเปลี่ยนข้าง 

3. ท่าโก่งตัว : คุกเข่าคล้ายท่าคลาน พร้อมกลางขาให้ขนานกับไหล่อย่างมั่นคง  เหยียดแขนตึง โก่งตัวค้างไว้และสลับกับพัก 3 วินาที ทำจนครบ 10 ครั้ง

ว่ายน้ำ

สำหรับการเลือกว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายควบคู่ไปการเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมตามเมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนักเพื่อให้คุณแม่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เป็นการออกกำลังกายที่มีน้ำเป็นตัวช่วยพยุงน้ำหนักท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ ทำให้คุณครรภ์สามารถเคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกายได้อย่างสะดวก ทำให้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย จากความรู้สึกเย็นสบาย สดชื่น

คำแนะนำในการว่ายน้ำออกกำลังกาย สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 
  • ควรเลือกสวมใส่ชุดว่ายน้ำแบบทูพีช เนื่องจากสามารถสวมใส่ได้ง่าย สบายตัว เพราะจะทำให้ชุดไม่รัดบริเวณท้อง 
  • เลือกว่ายน้ำในสระว่ายน้ำที่มีระดับพอดีตัวของคุณแม่ สามารถยืนได้ และมีน้ำนิ่ง ไม่มีคลื่น 
  • ว่ายน้ำหรือเดินในน้ำอย่างช้า ๆ และยืนบิดตัวซ้ายขวาได้ 
  • ควรมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ลื่นล้ม หรือเป็นตะคริว

การออกกำลังกายที่ควร ‘หลีกเลี่ยง’ ในขณะตั้งครรภ์

ในการรับประทานอาหารควบคุมน้ำหนักคนท้องตามคำแนะนำว่าคนท้องกินยังไงให้ลงลูกยังมีสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง การออกกำลังกายก็เช่นเดียวกัน คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่รุนแรง มีแรงปะทะสูง มีความผาดโผน และเป็นการออกกำลังกายที่หนักจนเกินไป ดังนี้


✖ งดเว้นการออกกำลังกายด้วยการคาร์ดิโอ 

✖ งดเว้นการเล่นกีฬาที่มีแรงกระทบกระเทือน เช่น การวิ่งออกกำลังกาย การขี่ม้า

✖ งดเว้นการเล่นกีฬาปะทะ เช่น ต่อยมวย บาสเกตบอล ฟุตบอล

 ✖ งดเว้นการเล่นกีฬาผาดโผน เช่น ดำน้ำลึก ปีนผา กระโดดหน้าผา กระโดดร่ม

คุณแม่ตั้งครรภ์ยังควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ และเลือกออกกำลังกายในสถานที่ที่อากาศถ่ายเท งดออกกำลังกายในบริเวณที่แดดจัด มีอากาศร้อน หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก 

นอกจากนี้เรายังรวบรวม 5 เคล็ดลับดูแลหุ่นตอนตั้งครรภ์ สรุปไว้ง่าย ๆ ให้คุณแม่อีกด้วย

ท่าออกกำลังกายหลังคลอด

เคล็ดลับ ‘การลดน้ำหนักหลังคลอดบุตร’

เมื่อรู้ถึงเคล็ดลับการควบคุมน้ำหนักตอนท้องว่าคนท้องกินยังไงให้ลงลูกกันไปแล้ว เราขอเสริมเคล็ดลับการลดน้ำหนักหลังคลอดบุตร ด้วยการรับประทานอาหารและการออกกำลังการอย่างเหมาะสม เพื่อคืนหุ่นสวยของคุณแม่ให้กลับมาดังเดิม

โดยปกติแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์จะค่อย ๆ ใช้เวลาในการมีน้ำหนักตัวที่ลดน้อยลงและกลับมาใกล้เคียงกับน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ในระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์ แต่หากยังมีความกังวลว่าจะไม่สามารถลดน้ำหนักให้กลับมามีหุ่นที่สวยดังเดิมได้ วันนี้เรามีคำแนะนำในเรื่องของการลดน้ำหนักหลังคลอดบุตรมาให้ทุกคนแล้ว โดยเราจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การรับประทานอาหารและการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักหลังคลอดบุตร ดังนี้

การรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนักหลังคลอดบุตร

ในการเลือกรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนักหลังจากการคลอดบุตร คุณแม่ตั้งควรเน้นการทานผักและผลไม้ที่ไม่มีรสหวานและไม่มีน้ำตาลสูง พยายามลดอาหารจำพวกแป้งและคาร์โบไฮเดรต เช่น ผัดไทย ผัดซีอิ๊ว และเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ตามสารอาหารและพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน ตามคำแนะนำ ดังนี้

  • ควรรับประทานอาหารให้อิ่มพอดี ไม่แน่นท้อง 
  • ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ 
  • เน้นทานผักผลไม้ที่มีกากใย
  • หลีกเลี่ยงของมัน ของทอด 
  • หลีกเลี่ยงการทานขนมจุกจิก 
  • หลีกเลี่ยงน้ำหวาน น้ำอัดลม 
  • เลือกทานผลไม้ก่อนอาหาร
  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา 
  • ดื่มน้ำบ่อย ๆ ในประมาณที่เหมาะสม

เมนูอาหารแนะนำเพื่อการลดน้ำหนักหลังคลอดบุตร

  • ผักนึ่ง ปลานึ่ง
  • เกาเหลา
  • สลัดผัก
  • อกไก่
  • แกงเลียง
  • แกงจืดตำลึง
  • สลัดผัก
  • โยเกิร์ต

การออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักหลังคลอดบุตร

ภายหลังจากการคลอดบุตร คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องการทานอาหารควบคุมน้ำหนักคนท้องหลังคลอดควบคู่ไปกับการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก ควรงดเว้นการออกกำลังกายที่รุนแรงประมาณ 6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันแผลจากการคลอดอักเสบ โดยในช่วงนี้คุณแม่สามารถออกกำลังกายเบา ๆ ได้ตามคำแนะนำของแพทย์

การออกกำลังกายในช่วง 6 สัปดาห์แรก หลังการคลอดบุตร

คุณแม่ที่คลอดธรรมชาติจะสามารถออกกำลังกายเบา ๆ ได้เลยในช่วง 2-3 วันหลังคลอด แต่ในส่วนของคุณแม่ที่ทำการผ่าคลอดจะสามารถเริ่มออกกำลังกายเบา ๆ ได้ภายหลังจากการคลอดไปแล้วประมาณ 20 วัน ซึ่งการออกกำลังกายเบา ๆ สำหรับคุณแม่หลังคลอด ได้แก่

  • เคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ เช่น อุ้มลูกเดินเล่น
  • ท่ากายบริหารง่าย ๆ เช่น การยืด เหยียด
  • การเล่นโยคะ

การออกกำลังกายหลังครบกำหนด 6 สัปดาห์แรก หลังการคลอดบุตร

เมื่อผ่านช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังจากการคลอดบุตรไปแล้ว คุณแม่สามารถเริ่มออกกำลังกายที่หนักขึ้นได้ โดยอาจเริ่มต้นจากการออกกำลังกายด้วยวิธี ดังนี้

  • เดินเร็ว
  • พิลาทิส
  • แอโรบิคเบา ๆ 
  • ว่ายน้ำ
  • แอโรบิคในน้ำ 

และเมื่อไม่มีความเสี่ยงของการอักเสบของแผล คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเลือกออกกำลังกายควบคู่ไปกับการเลือกทานเมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนักหลังคลอดได้ตามความเหมาะสมและความชื่นชอบของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง การปั่นจักรยาน การเล่นกีฬาต่าง ๆ เช่น บาสเกตบอล แบดมินตัน ก็สามารถทำได้ดังเดิม

นอกจากนี้การที่คุณแม่ให้นมลูกน้อยด้วยตัวเองยังช่วยในเรื่องของการเผาผลาญ ทำให้คุณแม่สามารถลดน้ำหนักหลังคลอดได้ดีขึ้น และทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน รวมถึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับลูกน้อยได้อีกด้วย 


ด้วยความเข้าใจในเรื่องน้ำหนักมาตรฐานของคุณแม่ตั้งครรภ์และภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ รวมถึงได้ปฏิบัติตามคำแนะนำจากธนาคารจัดเก็บสเต็มเซลล์ที่มีมาตรฐานการรับรองในระดับสากลอย่าง Cryoviva ในเรื่องของการออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักตอนท้องและเลือกทานอาหารควบคุมน้ำหนักคนท้องจากเมนูอาหารคนท้องควบคุมน้ำหนักทั้งในขณะที่ตั้งครรภ์และภายหลังจากการคลอดที่เราได้รวบรวมมาให้ทุกคน เพียงเท่านี้คุณแม่ตั้งครรภ์ก็หมดความกังวลในเรื่องของน้ำหนักตัวทั้งในระหว่างตั้งครรภ์และภายหลังจากการคลอดได้อย่างแน่นอน! 

และหากคุณแม่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาทางด้านสุขภาพ การควบคุมน้ำหนักตอนท้อง และเคล็ดลับในการดูแลตัวเองในขณะตั้งครรภ์ รวมถึงอยากรู้เรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเก็บสเต็มเซลล์ Cryoviva พร้อมแนะนำและพร้อมอยู่เคียงข้างคุณแม่และทุกคนในครอบครัว


See other

“ไครโอวิวา ธนาคารจัดเก็บสเต็มเซลล์
ผู้นำนวัตกรรมมาตรฐานระดับสากล
อยู่เคียงข้างคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว”

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญและรับสิทธิพิเศษจากไครโอวิวา



    มีความสนใจบริการด้านไหนของไครโอวิวาเป็นพิเศษหรือไม่?

    This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.