Lifestyle Blog

เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์อย่างไร ให้ลูกน้อยแข็งแรง

เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์อย่างไร

เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์..ร่างกายพร้อม ใจพร้อม เพื่ออนาคตที่ดีของลูกน้อย

เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ยากหรือไม่? จะทำอย่างไรให้คุณแม่มีความพร้อมก่อนตั้งครรภ์มากที่สุด? คุณแม่ที่กำลังวางแผนที่จะมีบุตรก็คงจะมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์เพราะต้องการมอบคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อยที่กำลังจะมาเป็นสมาชิกคนใหม่ของครอบครัว 

วันนี้ Cryoviva ขอมาเล่าถึงวิธีการเตรียมตัวตั้งครรภ์เพื่อความพร้อมสูงสุดทั้งทางกายและทางใจของคุณแม่ เพราะเมื่อร่างกายมีความพร้อมและคุณแม่ก็มีสุขภาพจิตที่ดี แน่นอนว่าลูกน้อยก็จะมีต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจากคุณพ่อคุณแม่ที่มีความพร้อมจากการเตรียมตัวที่เหมาะสมนั่นเอง

สิ่งสำคัญของการเตรียมตัวคือ ‘ระยะเวลา’ หากคุณพ่อคุณแม่เริ่มมีความต้องการที่จะมีบุตรก็สามารถเริ่มเตรียมตัวและวางแผนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของคุณแม่ได้เลย ซึ่งอย่างน้อย ๆ ควรจะเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนที่จะมีบุตรจริง ๆ ประมาณ 3 เดือน เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่มีความพร้อมและเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถวางแผนสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพของลูกน้อยในอนาคต หรือการวางแผนในการเก็บสเต็มเซลล์ แล้วถ้าคุณแม่ต้องการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง ตามเราไปดูกันเลย

 

8 วิธีเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่ต้องการมีบุตร

ก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 3 เดือน คุณแม่และคุณพ่อจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งในเรื่องของสุขภาพร่างกายของตนเอง และจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ ให้ลูกน้อยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงให้ความสำคัญโดยการศึกษาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อการเลี้ยงดูลูกน้อยอย่างเหมาะสม 

ซึ่งเราได้สรุปวิธีการเตรียมตัวตั้งครรภ์และแบ่งหัวข้อหลัก ๆ ออกเป็นข้อ ๆ ให้ทุกคนสามารถเข้าใจกันได้ง่าย ๆ แล้ว ดังนี้

 

1. ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เสมอ

เริ่มต้นที่สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ นั่นก็คือการเข้ารับการตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลหรือคลินิกต่าง ๆ ที่มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมถึงส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์ของคุณแม่ ดังนี้ 

  • การตรวจหาโรคทางพันธุกรรมที่อาจส่งต่อไปยังลูกน้อย 
  • การตรวจหาโรคที่ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เช่น ธาลัสซีเมีย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ
  • การตรวจสอบความพร้อมในการมีบุตรของคุณแม่ เช่น คุณแม่มีภาวะมีบุตรยากหรือไม่ คุณแม่ประจำเดือนมาปกติหรือไม่ 
  • การตรวจสอบความพร้อมในการมีบุตรของคุณพ่อ เช่น อสุจิมีความแข็งแรงหรือไม่ 
  • การตรวจหาภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ 

นั่นก็เพื่อให้คุณแม่ห่างไกลจากโรคแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ และเพื่อป้องกันโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ ที่อาจส่งต่อจากคุณพ่อหรือคุณแม่ไปยังลูกน้อยนั่นเอง

 

2. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ  

เมื่อคุณแม่ต้องการมีบุตร สิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก ๆ ในการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ ห่างไกลจากภาวะแทรกซ้อน และมีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่ดี ก็คือคุณแม่จะต้องเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีคุณภาพ ครบถ้วนไปด้วยสารอาหาร และหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของทั้งตัวคุณแม่เองและลูกน้อย ซึ่งส่วนนี้คุณแม่อาจค่อย ๆ เริ่มปรับและเลือกทานอาหารที่เหมาะสมประมาณ 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและเพื่อให้คุณแม่คุ้นเคยกับการรับประทานอาหารในรูปแบบนี้ ซึ่งแน่นอนว่าคุณพ่อก็สามารถมีส่วนช่วยในการดูแลเรื่องโภชนาการของคุณแม่ เพื่อแบ่งเบาภาระและความเครียดให้กับคุณแม่ได้เช่นเดียวกัน

 

อาหารและเครื่องดื่มที่ควรรับประทาน

  • อาหารที่มีความหลากหลายและครบถ้วนไปด้วยสารอาหารที่ร่างกายของคุณแม่ต้องการ
  • อาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต รวมถึงผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักใบเขียว
  • อาหารที่มีสังกะสี แมงกานีส และเบต้าแคโรทีน เช่น แครอท

อาหารและเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง

  • อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง เช่น ชาและกาแฟ
  • เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

สารอาหารที่คุณแม่ควรได้รับ

นอกจากการเลือกทานอาหารให้เหมาะสม เรายังขอให้คุณแม่เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และครอบคลุมถึงปริมาณของสารอาหารที่ร่างกายของคุณแม่ควรได้รับในแต่ละวัน ซึ่งมีดังนี้ 

  • โปรตีน : 75 – 110 กรัม ต่อวัน หรือ 30 – 40% ของมื้ออาหาร
  • คาร์โบไฮเดรต : 2000 – 2300 กิโลแคลอรี ต่อวัน
  • ผักและผลไม้ : 400 กรัม หรือแบ่งเป็น ผัก 6 ทัพพี และผลไม้ 3 – 5 ส่วน 
  • น้ำเปล่า ประมาณ 1,500 – 2,000 ซีซี หรือ 2 ลิตร ต่อวัน
  • วิตามินเอ : 700 ไมโครกรัมต่อวัน
  • วิตามินบี 1  : 1.4 มิลลิกรัมต่อวัน
  • วิตามินบี 2 :  1.4 มิลลิกรัมต่อวัน
  • วิตามินบี 6 : 1.9 มิลลิกรัมต่อวัน
  • วิตามินบี 12 : 2.6 ไมโครกรัมต่อวัน
  • วิตามินซี :  95 มิลลิกรัมต่อวัน
  • วิตามินดี : 600 ยูนิตต่อวัน

 

3. สำรวจยาประจำตัว เลือกใช้ยาอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์

ยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยได้! ในช่วงที่คุณพ่อคุณแม่กำลังเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์มีสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องศึกษา และเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือคุณหมอประจำตัวของคุณแม่ นั่นก็คือเรื่องของการใช้ยานั่นเอง

การใช้ยาบางชนิดของคุณแม่อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ และการทานยาในระหว่างตั้งครรภ์บางชนิดก็อาจทำให้ลูกน้อยได้รับผลกระทบที่รุนแรงหรือทำให้ลูกน้อยได้รับอันตรายในขณะที่อยู่ในครรภ์ได้ เราจึงขอแนะนำให้คุณแม่วางแผนการเตรียมตัวตั้งครรภ์โดยการเข้าพบแพทย์เพื่อสอบถามและรับคำแนะนำในเรื่องของยาที่สามารถใช้ได้และยาที่ไม่ควรใช้ทั้งก่อนการตั้งครรภ์และในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีโรคประจำตัว เพราะยาที่คุณแม่เคยรับประทานอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของลูกน้อยในอนาคต

 

ตัวอย่างของยาที่คุณแม่ไม่ควรรับประทานในขณะตั้งครรภ์

  • ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น ยาแอสไพริน
  • ยาแก้คัน แก้แพ้ เช่น ยาคลอเฟนิรามีน  
  • ยากันชัก 
  • ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ เช่น ยาเตตราชัยคลิน 

 

4. มองหาสถานที่ฝากครรภ์และจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ ให้พร้อม

อีกหนึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ให้พร้อม ก็คือการมองหาสถานที่ฝากครรภ์ที่ตอบโจทย์ ตรงใจ และมีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้เมื่อคุณแม่เข้าสู่ช่วงของการตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่จะได้สามารถเข้ารับการฝากครรภ์ได้ทันที เนื่องจากการฝากครรภ์นั้นควรทำทันทีเมื่อคุณแม่ทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ และไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์นั่นเอง

โดยการฝากครรภ์นั้นสามารถทำได้ที่สถานพยาบาลต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้บ้านหรือที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล อนามัย หรือคลินิกที่เราไว้ใจ เพื่อรับคำแนะนำจากแพทย์ในเรื่องของการดูแลตัวเองให้เหมาะสม และเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย อาทิ

  • เพื่อเป็นการติดตามพัฒนาการการเจริญเติบโตของทารก 
  • เพื่อติดตามอายุครรภ์และทำการกำหนดคลอดได้อย่างแม่นยำ 
  • เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่รู้ได้ถึงตำแหน่งของการตั้งครรภ์ที่ชัดเจน
  • เพื่อเฝ้าระวังอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ อย่างภาวะแทรกซ้อนหรือโรคภัยไข้เจ็บของคุณแม่
  • เพื่อลดความเสี่ยงของการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นต้น

 

ก่อนตั้งครรภ์ต้องเตรียมอะไรบ้าง สำหรับใช้ในการฝากครรภ์

  • บัตรประชาชน  
  • ข้อมูลประวัติการเจ็บป่วย แพ้ยา โรคประจำตัว
  • ข้อมูลประจำเดือนครั้งล่าสุด

 

5. ลิสต์วัคซีนสำคัญที่ต้องฉีด ทั้งกับตัวคุณแม่และลูกน้อย 

เรื่องต่อมาที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องศึกษาเพื่อเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ให้คุณแม่มีความพร้อมมากที่สุดก็คือเรื่องของวัคซีนสำคัญที่คุณแม่จำเป็นต้องฉีด โดยคุณพ่อคุณแม่อาจทำเป็นเช็กลิสต์เพื่อตรวจสอบว่าตามวันและเวลาที่กำหนดคุณแม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนที่จำเป็นแล้วหรือยัง ซึ่งวัคซีนที่คุณแม่จำเป็นจะต้องได้รับก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์เพื่อให้ร่างกายมีความพร้อม มีดังนี้

 

วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม และอีสุกอีใส 

คุณแม่ที่กำลังวางแผนการเตรียมตัวตั้งครรภ์เพื่อให้พร้อมที่สุดในการบุตร ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม และอีสุกอีใส ก่อนการตั้งครรภ์ 3 เดือน

 

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

คุณแม่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ หากในช่วงนั้นเป็นช่วงที่โรคกำลังระบาด คุณแม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในขณะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก 

คุณแม่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยักได้ 2 รูปแบบ คือการกระตุ้นอย่างน้อย 1 เดือนก่อนตั้งครรภ์ หรือฉีดกระตุ้นหลังจากอายุครรภ์เกิน 27 สัปดาห์ไปแล้ว

 

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 

ในการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์คุณแม่ที่มีอายุระหว่าง 9-26 ปี ควรฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ให้ครบ 3 เข็มก่อน แต่หากยังไม่ครบเราไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้ในขณะตั้งครรภ์ และถ้าฉีดเข็มแรกไปแล้วให้เข้ารับการฉีดเข็มที่เหลือหลังจากการคลอดบุตรไปแล้วนั่นเอง

 

วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ เอ บี 

ในการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพแล้วพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ เพื่อเลี่ยงเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่จากแม่สู่ลูก

 

6. ศึกษาเรื่องการจัดเก็บสเต็มเซลล์กับลูกน้อย

เพื่ออนาคตทางสุขภาพของลูกน้อยและทุกคนในครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนที่จะมีบุตร ควรเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์โดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของการจัดเก็บและการฝากสเต็มเซลล์ เพราะในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าและพัฒนาการรักษาทางเลือกในรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นก็คือการจัดเก็บสเต็มเซลล์กับลูกน้อยแรกคลอด เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันทางสุขภาพในอนาคต หรือก็คือการจัดเก็บสเต็มเซลล์ของลูกน้อยไว้เพื่อนำมาใช้ฟื้นฟูโรคร้ายให้กับตัวลูกน้อยหรือคนในครอบครัวในอนาคตหากพวกเขาป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยวิธีการรักษาแบบเดิม ๆ นั่นเอง

 

ทำไมถึงควรวางแผนจัดเก็บสเต็มเซลล์ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

เราแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่วางแผนในเรื่องของการจัดเก็บสเต็มเซลล์ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์เพราะสเต็มเซลล์เป็นเซลล์ที่มีข้อจำกัดในการนำมาใช้อยู่มากเพราะเซลล์ที่นำมาใช้กับเซลล์ภายในร่างกายของผู้ที่ต้องการทำการรักษาจะต้องมีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้อย่างสมบูรณ์ และโอกาสที่จะค้นพบผู้บริจาคที่มีเนื้อเยื่อเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์กับผู้รับสเต็มเซลล์โดยทั่วไปแล้วมีเพียง 1 ใน 50,000 – 100,000 คนเท่านั้น ทำให้หากคุณพ่อคุณแม่ไม่วางแผนให้ดี และไม่รีบทำการจัดเก็บกับลูกน้อยตั้งแต่แรกคลอด อาจทำให้โอกาสในการจัดเก็บสเต็มเซลล์เพื่อเป็นหลักประกันทางสุขภาพในอนาคตให้กับลูกน้อยและทุกคนในครอบครัวในครั้งนั้นต้องหลุดมือไป

 

สเต็มเซลล์ วางแผนเพื่อจัดเก็บที่ไหนได้บ้าง

คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกจัดเก็บสเต็มเซลล์กับลูกน้อยแรกคลอดได้ตามแหล่งต้นกำเนิดที่มีคุณสมบัติในการแบ่งตัวเป็นเซลล์ในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อฟื้นฟูโรคร้ายที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  • เลือดสายสะดือ Cord Blood (CB) : ใช้รักษาโรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันได้มากถึง 85 โรค จากกลุ่มโรคร้ายต่าง ๆ สำหรับลูกน้อย (เจ้าของสเต็มเซลล์) 
  • เนื้อเยื่อสายสะดือ Cord Tissue (CT) : ใช้ฟื้นฟูโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมสภาพ และฟื้นฟูอวัยวะภายในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น สำหรับลูกน้อย (เจ้าของสเต็มเซลล์) และทุกคนในครอบครัว
  • เนื้อเยื่อหุ้มรก Amnion Tissue (AT) : ใช้ฟื้นฟูโรคทางระบบประสาทและสมอง สำหรับลูกน้อย (เจ้าของสเต็มเซลล์) และทุกคนในครอบครัว

นอกจากนี้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ก็สามารถทำการเตรียมตัวตั้งครรภ์โดยวางแผนเลือกจัดเก็บสเต็มเซลล์จาก ‘เนื้อเยื่อไขมัน’ Adipose (ADSC) ของตัวเอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องของผิวพรรณและความงาม อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ฟื้นฟูความเสื่อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคุณแม่ได้อีกด้วย

 

7. ศึกษาวิธีดูแลลูกน้อยเพิ่มเติม

แน่นอนว่าการจะเลี้ยงดูลูกน้อยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความแข็งแรง ปลอดภัย และได้รับความรักความอบอุ่นจากคุณพ่อและคุณแม่อย่างเหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนที่จะมีบุตรควรจัดสรรเวลามาใช้ในการศึกษาวิธีดูแลลูกน้อยในเรื่องต่าง ๆ เพิ่มเติม ซึ่งตัวอย่างของวิธีดูแลลูกน้อยที่ควรศึกษาเพื่อเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์นั้น เช่น 

  • เทคนิคการดูแลและรับมือกับลูกน้อยในแต่ละช่วงวัย 
  • อาหารที่เหมาะสมกับลูกน้อยในแต่ละช่วงวัย
  • วิธีการอุ้มลูกน้อยให้ปลอดภัย
  • วิธีการอาบน้ำให้กับลูกน้อยอย่างเหมาะสม
  • กิจกรรมที่ควรทำเพื่อเสริมพัฒนาการให้กับลูกน้อย 
  • วิธีการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้กับลูกน้อย 
  • การให้นมลูกอย่างถูกวิธี
  • เทคนิคการกล่อมลูกน้อยให้นอนหลับสนิท
  • วิธีการห่อตัวลูกน้อยให้อบอุ่นและปลอดภัย เป็นต้น

 

8. ปรับสิ่งแวดล้อม จัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็น

เมื่อทำการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์โดยศึกษาข้อมูลและสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นเรียบร้อยแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องอย่าลืมจัดการกับสภาพแวดล้อมภายในบ้านหรือที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับเด็กเล็กมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งโซนเลี้ยงดูลูกน้อยอย่างเป็นสัดเป็นส่วน การจัดการกับฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้หรือโรคอื่น ๆ ในเด็กเล็ก การรักษาความสะอาด และการจัดให้บ้านมีอากาศที่ถ่ายเท รวมถึงการระมัดระวังในเรื่องของสัตว์เลี้ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้

นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังควรจัดเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับลูกน้อยให้ครบถ้วน เพื่อให้ทั้งคุณพ่อและคุณแม่เองมีความพร้อมก่อนตั้งครรภ์และพร้อมต้อนรับสมาชิกใหม่ที่กำลังจะลืมตาดูโลกมากที่สุด โดยของใช้ที่จำเป็นนั้น เช่น 

  • ที่นอน
  • เสื้อผ้า 
  • ถุงเท้า 
  • หมวก 
  • ผ้าอ้อม 
  • ขวดนม 
  • จุกนม 
  • ของเล่นเสริมพัฒนาการ เป็นต้น

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการทราบถึงวิธีเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์เพิ่มเติมว่าก่อนตั้งครรภ์คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร และจะทำการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์อย่างไรให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างแข็งแรง สมบูรณ์ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฝากสเต็มเซลล์เพื่ออนาคตทางสุขภาพของลูกน้อย และทุกคนในครอบครัว สามารถติดตามบทความดี ๆ จากทาง Cryoviva หรือสอบถามเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ Facebook: Cryoviva Thailand หรือโทรเข้ามาสอบถามโดยตรงได้ที่เบอร์ 094-449-9445 หรือทักเข้ามาเพื่อปรึกษาผ่านช่องทาง Line : @cryoviva กันได้เลย!


See other

“ไครโอวิวา ธนาคารจัดเก็บสเต็มเซลล์
ผู้นำนวัตกรรมมาตรฐานระดับสากล
อยู่เคียงข้างคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว”

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญและรับสิทธิพิเศษจากไครโอวิวา



    มีความสนใจบริการด้านไหนของไครโอวิวาเป็นพิเศษหรือไม่?

    This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.