Lifestyle Blog

ตอบข้อสงสัยคุณแม่ตั้งครรภ์! วิธีเตรียมตัวแต่ละไตรมาสก่อนการจัดเก็บสเต็มเซลล์

ตอบข้อสงสัยคุณแม่ตั้งครรภ์! วิธีเตรียมตัวแต่ละไตรมาสก่อนการจัดเก็บสเต็มเซลล์

สเต็มเซลล์ หรือ เซลล์ต้นกำเนิดเป็นผลิตภัณฑ์จากร่างกายที่จัดเก็บได้ในขณะแรกเกิด  โดยแหล่งต้นกำเนิดที่จัดเก็บสเต็มเซลล์ก็จะแตกต่างกันออกไป อาทิ สเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ Cord Blood (CB) สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อสายสะดือ Cord Tissue (CT) และสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อหุ้มรก Amnion Tissue (AT) 

ในการจัดเก็บสเต็มเซลล์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องดูแลตนเองให้มีความแข็งแรงทั้งสุขภาพคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เป็นอย่างดี ซึ่งแต่ละช่วงไตรมาสก็มีวิธีการดูแลตนเองที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้

Cryoviva ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากโรงพยาบาลบางปะกอก สมุทรปราการมา ณ ที่นี้ด้วย 

หากคุณแม่ท่านใดสนใจและอยากศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เรารวบรวมข้อมูลที่จะตอบโจทย์ข้อสงสัยของคุณแม่หลาย ๆ ท่านมาให้แล้ว เชิญอ่านได้เลย  คลิก!

ไตรมาส ที่ 1 (ช่วง 1-3 เดือน)

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในไตรมาสที่ 1

  • การรับประทานอาหาร : คุณแม่ควรรับประทานในปริมาณที่เท่ากันในตอนก่อนตั้งครรภ์ หากมีอาการแพ้ท้องจนไม่สามารถรับประทานได้ ควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ เพื่อให้ย่อยง่าย หรือเครื่องดื่มให้ความหวาน เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้ 
  • การฝากครรภ์ : เมื่อคุณแม่ทราบว่าตั้งครรภ์ก็ควรเข้ารับการฝากครรภ์ทันที เพื่อคุณแม่และลูกน้อยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา 9 เดือน
  • การฉีดวัคซีน : ไม่นิยมฉีดขณะที่ตั้งครรภ์ ยกเว้นมีความจำเป็นควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณา

ไตรมาสที่ 2 (ช่วง 4-6 เดือน)

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในไตรมาสที่ 2

 

  • การรับประทานอาหาร : อาการแพ้ท้องมักจะหายไปในช่วงนี้ เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ คุณแม่ควรรับประทานให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
  • การออกกำลังกาย : มีประโยชน์ต่อคุณแม่ เพราะจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ระบบย่อยทำงานได้ดีขึ้น ป้องกันท้องผูก และช่วยให้นอนหลับสนิทมากขึ้น
  • ท่านอน : ควรนอนท่าตะแคงซ้าย-ขวา หรือหงายสลับกัน เพื่อลดจุดกดทับของร่างกาย

ไตรมาสที่ 3 (ช่วง 7เดือน – วันคลอดลูกน้อย) 

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในไตรมาสที่ 3

    • การรับประทานอาหาร : ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์หรือเนื้อปลา และทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เช่นเดียวกันกับไตรมาสที่ 2 
    • การฝากครรภ์ : การตรวจครรภ์จะบ่อยมากขึ้นในไตรมาสนี้ จะมีการตรวจปัสสาวะเพื่อดูน้ำตาลและโปรตีน เช็กความดันโลหิต ติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
    • การดูแลเต้านม : ในช่วง 2-3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนมแลพลานนม ดังนั้นในการอาบน้ำไปควรเน้นที่หัวนมมากนัก เพราะอาจจะทำให้หัวนมแห้งและแตกได้

 

  • การเตรียมหลักประกันทางสุขภาพให้ลูกน้อย : อีกหนึ่งการจัดเตรียมหลักประกันทางสุขภาพในอนาคตให้กับลูกน้อยที่น่าสนใจในปัจจุบันคือการเก็บสเต็มเซลล์หรือการเก็บสเต็มเซลล์ทารก ซึ่งเป็นกระบวนการที่ดำเนินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ “หลังจากการคลอดบุตรทันที” เรียกได้ว่าลูกน้อยจะมีหลักประกันทางสุขภาพเตรียมไว้ให้พร้อมตั้งแต่ตอนที่เขาลืมตาดูโลก

 


See other

“ไครโอวิวา ธนาคารจัดเก็บสเต็มเซลล์
ผู้นำนวัตกรรมมาตรฐานระดับสากล
อยู่เคียงข้างคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว”

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญและรับสิทธิพิเศษจากไครโอวิวา



    มีความสนใจบริการด้านไหนของไครโอวิวาเป็นพิเศษหรือไม่?

    This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.