Lifestyle Blog

เมื่อก้าวเข้าสู่วัย 60 ปีมีโรคอะไรบ้างที่ควรระวัง

เมื่อก้าวเข้าสู่วัย 60 ปีมีโรคอะไรบ้างที่ควรระวัง

 

อายุ 60 ปี ก็เป็นเรื่องธรรมชาติที่ร่างกายจะเริ่มเสื่อมลง อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ร่างกายเริ่มแสดงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ออกมา  ถึงแม้จะดูแลตัวเองดีแค่ไหน แต่ในเรื่องของการเจ็บไข้ได้ป่วยของวัยนี้เป็นเรื่องที่ห้ามได้ยาก

 

ดังนั้นหากป้องกันและสังเกตสุขภาพของตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้สามารถเข้าทำการรักษาได้ทัน และสามารถลดความรุนแรงของโรคลงไปได้อีกด้วย โดยโรคที่ผู้สูงวัยต้องคอยระวังมี 5 โรค ดังนี้

 

  1. โรคอัลไซเมอร์
    อาการ : หลงลืมเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น สับสนเรื่องเวลา แม้ได้รับการบอกใบ้แล้วก็ตามก็ยังนึกไม่ออก ไปจนถึงทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ลืมทางเดินกลับบ้าน ลืมวิธีใช้โทรศัพท์ หรือลืมชื่อคนในครอบครัว
    แนวทางป้องกัน : หมั่นบริหารสมองอยู่เสมอ เช่น นั่งสมาธิ เล่นเกมอักษรไขว้ หรือเกมจับคู่ และหากผู้สูงอายุที่มีอาการดังข้างต้น ควรเริ่มเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์
  2. โรคหัวใจขาดเลือด
    อาการ : แน่นหน้าอกเหมือนถูกบีบรัด และปวดไปถึง สะบักหลัง หัวไหล่ และแขนฝั่งซ้าย เหงื่อออกง่าย หน้ามืด ใจสั่น คลื่นไส้ จะเป็นลมบ่อยครั้ง
    แนวทางป้องกัน : ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดปริมาณการรับประทานอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และที่สำคัญคือการตรวจสุขภาพหัวใจประจำปี
  3. โรคไต
    อาการ : เบื่ออาหาร บวมง่าย อ่อนเพลียไม่สดชื่นแม้พักผ่อนเพียงพอ ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะน้อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะไม่สุด เป็นต้น
    แนวทางป้องกัน :  รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว และที่สำคัญผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปควรการตรวจคัดกรองโรคไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  4. โรคความดันโลหิตสูง
    อาการ : โดยปกติแล้วโรคนี้จะไม่แสดงอาการให้เราเห็นสักเท่าไหร่ แต่หากความดันโลหิตสูงมากก็จะมีการแสดงอาการ หน้ามืด สายตาพร่ามัว หายใจได้ไม่เต็มปอด และปวดศีรษะขั้นรุนแรงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
    แนวทางป้องกัน : รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี
  5. โรคข้อเข่าเสื่อม
    อาการ : เจ็บปวดบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ภายในร่างกาย มีรูปร่างขาที่ผิดปกติ เช่น ขาโก่ง หรือข้อเข่าผิดรูป และมีอาการข้อบวมอย่างเห็นได้ชัด
    แนวทางป้องกัน : ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้หัวเข่ามาก ๆ เช่น การลุกนั่ง การออกกำลังกายแบบสควอท หรือการใช้ห้องน้ำแบบนั่งยอง ๆ และหมั่นบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงเป็นประจำ

 

จะเห็นได้ว่าโรคที่กล่าวมามีแนวทางการป้องกันคล้าย ๆ กัน และหากลูกหลานหรือตัวผู้สูงอายุเองกำลังเกิดความกังวลใจต่อโรคภัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ☝Cryoviva จึงอยากบอกว่าสเต็มเซลล์สามารถช่วยฟื้นฟูได้ถึง 4 ใน 5 โรคที่กล่าวมาข้างต้น โดยสเต็มเซลล์จะเข้าไปทดแทนเซลล์เก่าที่เสียหาย และยับยั้งการอักเสบได้ทั่วร่างกาย มากไปกว่านั้นคุณยังสามารถใช้สเต็มเซลล์ไขมันของตัวเองหรือสมาชิกภายในบ้านเพื่อฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรงได้อีกด้วย

 

มาร่วมกันวางแผนจัดเก็บสเต็มเซลล์เพื่อใช้ฟื้นฟูสุขภาพได้แล้วตั้งแต่วันนี้ กับ Cryoviva ผู้ให้บริการจัดเก็บสเต็มเซลล์ที่ได้คุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐานในสากล

Cryoviva ขอขอบคุณข้อมูลเกี่ยวกับโรคไต จากโรงพยาบาลนครธน ณ ที่นี้ด้วย


See other

“ไครโอวิวา ธนาคารจัดเก็บสเต็มเซลล์
ผู้นำนวัตกรรมมาตรฐานระดับสากล
อยู่เคียงข้างคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว”

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญและรับสิทธิพิเศษจากไครโอวิวา



    มีความสนใจบริการด้านไหนของไครโอวิวาเป็นพิเศษหรือไม่?

    This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.